ประวัติความเป็นมา ฝ่ายพัฒนาคุณภาพ
ระยะที่ 1 เป็นช่วงของการศึกษาหาแนวทางปฏิบัติ การพัฒนาระบฐานข้อมูลและการสร้างคู่มือ เครื่องมือ/แบบฟอร์มต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
ระยะที่ 2 เป็นช่วงของการพัฒนาระบบฐานข้อมูลให้มีความครอบคลุมและเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในงานประกันคุณภาพการศึกษา มีการสร้างและปรับปรุงเครื่องมือ แบบฟอร์มต่าง ๆ และคู่มือให้มีความเหมาะสมมากขึ้น มีการพิจารณากำหนดขั้นตอนของการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างเป็นระบบ โดยมีคณะบุคคลและหน่วยงานที่รับผิดชอบ เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพและการประเมินคุณภาพ เริ่มใช้ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาที่หน่วยงานได้พัฒนาขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ใช้ผลการดำเนินงานเป็นข้อมูลป้อนกลับ เพื่อปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องในการดำเนินงานและส่งเสริมผลงานที่มีคุณภาพ ให้มีคุณภาพยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ระยะที่ 3 เป็นช่วงของการดำเนินงานที่ครบทั้ง 2 ขั้นตอนของการควบคุมตนเอง (Self Control) คือ“การใช้ผลการดำเนินงานเป็นข้อมูลป้อนกลับเพื่อการปรับปรุงแก้ไขและเพื่อการส่งเสริม การดำเนินงาน”และมี “การประเมินตนเอง”มีการตรวจสอบคุณภาพ การประเมินคุณภาพ และรับการประเมินคุณภาพจากภายนอกรอบแรก จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)ระหว่างวันที่ 21 – 25 มิถุนายน 2548
ระยะที่ 4 เป็นช่วงที่มหาวิทยาลัยได้นำผลการประเมินรอบแรกมาทำการปรับปรุงด้านต่างๆ ตามที่ได้รับข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการ และวางแผนในการขอรับการตรวจประเมินคุณภาพ ภายนอกรอบที่สอง ตามมาตรฐานคุณภาพใหม่ของ สมศ. ในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม พ.ศ.2551 โดยขอรับการประเมินของปีการศึกษา 2550 พร้อมกันนี้ก็ได้ทำการพัฒนาโปรแกรมระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาและบริหาร (FIS) และ Supreme Plus ของมหาวิทยาลัย
ระยะที่ 5 เป็นช่วงที่มหาวิทยาลัยได้นำผลการประเมินรอบสองมาปรับปรุงและพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น โดยมีจุดเน้นที่สำคัญคือให้บุคลากรทุกฝ่ายและทุกระดับได้ตระหนักถึงความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษาและใช้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไปสู่เป้าหมายโดยมีคุณภาพในการศึกษาอย่างแท้จริง